Thursday, May 9, 2013

6.1 การประยุกต์ใช้งาน-ข้อควรระวังในการให้ข้อมูลและการใช้ Facebook

0 ความคิดเห็น


อย่างที่เราทราบกันว่า การใช้ Facebook  เป็นนวัตกรรมเว็บไซต์บน ระบบอินเตอร์เน็ตที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ชอบในสิ่งเดียวกัน มาเป็นกลุ่มสังคมเดียวกัน มีการติดต่อสื่อสารกัน เช่น การโพสต์ข้อความ  การแลกเปลี่ยนแบ่งปันสื่อต่างๆ ทั้งภาพ เสียง ลิงค์ คลิปวีดีโอ, การร่วมเล่นเกม เป็นต้น

    เป้าหมายของ Hackers ที่เป็น Facebook ก็เพราะจำนวนผู้ใช้ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้บริการจาก Facebook เกิดพิษภัยแก่ผู้ใช้ในช่วงที่ผ่านมามีมากมาย และหลายๆ เรื่องที่เป็นความลับ ก็โผล่อยู่บน Facebook  อย่างกรณีล่าสุด มีภาพที่ไม่เหมาะสมของดาราหรือบุคคลสาธารณะบางคนหลุดออกไปบนอินเทอร์เน็ตผ่าน Facebook หรือมีการหลอกลวงถามอีเมล์และพาสเวิรด์ แล้วแอบเอาอีเมล์ไปแจ้งญาติว่ามีเรื่องเดือนร้อนทางการเงิน ให้ญาติ โอนเงินเข้าบัญชี (บัญชีของผู้ที่หลอกลวง)

การใช้ Facebook อย่างปลอดภัย มีข้อควรระวังดังนี้
1. อย่าตั้งรหัสผ่านที่เดาได้ง่าย เพราะจะทำให้มิจฉาชีพสามารถเดาและเข้าไปล็อกอินใช้Facebook เราได้ ในการนี้ มีคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านที่ดี เพื่อความปลอดภัยในการใช้ Facebook
  ไม่ควรเป็นคำที่หาได้จากพจนานุกรม
  มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร
  ควรมีตัวอักขระที่ไม่ใช่ตัวอักษรปะปน เช่น $ ! ?
  ควรใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษร
  ควรใช้ตัวอักษรทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก
  เป็นชื่อที่คนอื่นเดาได้ยาก แต่เราจำได้ง่าย
  ตัวอย่างของการตั้งรหัสผ่านที่ดี
    NeenaKonrao*113?
      l,smypxitl,Liuot8t
  ตัวอย่างการตั้งรหัสผ่านที่ไม่ดี
      Mylovefacebook
      Lovedadmom

2. การใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่เป็นส่วนตัว โดยต้องใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรตั้งค่า Facebook ให้จำรหัสผ่าน โดยไม่คลิ๊กถูกที่ช่อง ให้ฉันอยู่ในระบบต่อไป


  3. ใช้ระบบความปลอดภัยที่สูงกว่า ด้วยการเชื่อมต่อเปิดการใช้งาน https ในเบราเซอร์ แทนการใช้ http เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา  ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้  โดยเข้าไปที่ ตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ > ความปลอดภัย > เรียกดูแบบปลอดภัย > เลือกที่ เรียกดู Facebook บนการเชื่อมต่อแบบปลอดภัย (https) เมื่อเป็นไปได้ > บันทึกการเปลี่ยนแปลง



  4. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรจะเป็นความลับ อาทิ เรื่องส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นของเรา  คนในครอบครัว ญาติมิตร หรือกิจกรรมที่กระทำ โดยอย่าบอกทุกเรื่อง การเปิดเผยเรื่องส่วนตัวที่ระบุไปในบัญชี Facebook ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างยิ่ง
เรื่องที่ไม่ควรเปิดเผย อาทิ
    วัน เดือน ปีเกิด เพราะมิจฉาชีพอาจนำข้อมูลนี้ไปอ้างอิงกับธนาคาร บัตรเครดิต หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อยืนยันความเป็นตัวตนของเรา โดยอ้างอิงกับวันเดือนปีเกิดได้
   ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดของลูก โรงเรียนของลูก หรือของบุคคลที่มิจฉาชีพอาจเอาไปอ้างเป็นผู้ปกครอง หรือเป็นผู้ดูแล และอาจนำไปสู่การทำร้ายหรือลักพาตัวได้
   ที่อยู่ อีเมล์ และโทรศัพท์ของเรา เพราะมิจฉาชีพอาจใช้ป็นช่องทางในการอ้างกับหน่วยงานต่างๆ ถึงความเป็นตัวตนของเรา หรืออาจมีการรบกวนเราก็ได้
   แผนการเดินทาง หรือการท่องเที่ยว เพราะมิจฉาชีพอาจอาศัยข้อมูลนี้ ฉวยโอกาสมาขโมยทรัพย์สินของเราได้
   การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว เช่น การแก้ไขข้อมูลวันเกิดใน Facebook ทำได้ดังนี้  หน้าเพจส่วนตัว > เกี่ยวกับ > ข้อมูลเบื้องต้น > เลือกที่ แก้ไข > เลือกที่ อย่าแสดงวันเกิดของฉันบนไทม์ไลน์ > บันทึก




การใช้ Facebook อย่างรักษาความเป็นส่วนตัว มีข้อควรระวังดังนี้
  1. ใช้ Facebook โดยไม่ให้ผู้อื่นค้นพบบัญชี Facebook เราจากการเสิร์ซเอนจิน (Public search) โดย  ตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ > โฆษณา > ที่ไซด์ภายนอก คลิ๊ก แก้ไข> เลือกที่ ไม่อนุญาตทุกคน> บันทึกการเปลี่ยนแปลง  ในกรณีนี้ เราสามารถเปลี่ยนแปลงโดย “ไม่อนุญาตทุกคน” ที่ “โฆษณาและเพื่อน” ได้ด้วย



  2. ไม่รับคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จักเป็นเพื่อนบน Facebook หากมีคนที่เราไม่รู้จักมาขอเป็นเพื่อน เราควรจะเพิกเฉยคำร้องขอเป็นเพื่อน  โดยการเลือกคลิ๊ก ไม่ใช่ตอนนี้ (Not Now)

  3. เลือกคนที่เราจะให้สามารถดูสิ่งที่เราโพสต์  เพราะในการเลือกกลุ่มคนที่จะให้ดูข้อมูลของเรา Facebook จะมีเมนูให้เลือกดังนี้
  สาธารณะ
  เพื่อน
  แค่ฉัน
  ปรับปรุงให้เหมาะสม
รายการเพื่อนต่างๆ ที่เราอยู่ในกลุ่ม หรือตั้งกลุ่มไว้
การตั้งค่าที่จะให้คนหรือกลุ่มคนดูในสิ่งที่เราโพสต์ ทำได้ดังนี้  ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว > การตั้งค่าและเครื่องมือความเป็นส่วนตัว > คลิ๊ก แก้ไข > เลือก คนที่เราต้องการให้ดูสิ่งที่เราโพสต์ เช่น เพื่อน  การตั้งค่านี้เป็นการตั้งค่าเดียวกับที่สามารถตั้งค่าได้ขณะที่โพสต์ และในการตั้งค่านี้ได้อัพเดตการตั้งค่าที่นั่นด้วยเช่นกัน



การใช้ Facebook อย่างสุภาพ มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังนี้
  จงนึกไว้เสมอว่า ทุกสิ่งที่เราโพสต์ลงไปบน Facebook คนหรือกลุ่มคนที่เราอนุญาตจะเห็นในสิ่งที่เราโพสต์ และยิ่งกว่านั้นก็คือ อาจมีการ Capture หน้าจอของเราไว้
  จงนึกเสมอว่า คนที่เห็นในสิ่งที่เราโพสต์ เป็นผู้พิจารณาความเป็นตัวตนของเรา ซึ่งผู้ที่เห็น อาจเป็นผู้บังคับบัญชา ญาติ เพื่อน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบกับความสัมพันธ์ได้
จงนึกเสมอว่า ควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพและอนุรักษ์ภาษาไทยที่ดีงามไว้ ไม่ใช้ศัพท์แสลงจนทำให้ภาษาไทยวิบัติ

การใช้ Facebook ให้มีประโยชน์และไม่เกิดโทษ
ประโยชน์ ได้แก่ เลือกรับในสิ่งที่ดีบน Facebook อาทิ ความรู้ต่างๆ ข้อคิดที่ดีๆ  เป็นต้น
  ไม่เกิดโทษ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการใช้ Facebook นานๆ จนทำให้สัมพันธภาพกับคนในครอบครัวน้อยลง

การใช้ Facebook อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ไม่เปิดรับหรืออนุญาต แอปพิเคชั่นที่เราไม่แน่ใจ เพราะใน Facebook มักจะเชื่อมต่อในหลากหลายที่แสดงผลให้สามารถล่วงรู้กลุ่มบุคคลใดที่ติดต่อเรา รู้กิจกรรมทั้งหมดที่เราทำ
  2. บล็อกการร้องขอการมีส่วนร่วมในการเล่นเกม หรือมีส่วนร่วมในแอปพิเคชั่นที่เพื่อนใช้
  3. บล็อกกิจกรรมไม่ให้เห็นการเล่นเกมของเพื่อน
4. จัดกลุ่มและติดตามการอัปเดตเฉพาะกลุ่มคนที่เราสนใจ
  5. ศึกษาข้อมูลและอ่านวิธีการใช้งานให้แน่ชัด หรือสอบถามจากผู้รู้ที่เชื่อถือได้ถึงข้อดี ข้อเสียของ Facebook  นั้นก่อนที่จะใช้งาน
  การบล็อกผู้ใช้และแอปพอเคชั่น ดังนี้  ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว > จัดการบล็อก > คลิ๊ก บล็อก >



  สุดท้าย จงระลึกไว้เสมอว่า ผู้ใช้ Facebook ต้องเก็บเรื่องราวให้เป็นความลับ คิดหลาย ๆ ครั้งก่อนที่จะโพสต์เนื้อหาหรือรูปภาพต่างๆ อย่าลืมตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ด้วย โดยระบุว่าใครบ้างที่สามารถเข้ามาดูอัลบั้มภาพถ่าย วิดีโอ โพรไฟล์ สถานะการอัพเดต และอีกสารพันข้อมูลเกี่ยวกับตัวของเราได้บ้าง สุดท้าย คิดก่อนรับคนที่ไม่รู้จักเป็นเพื่อน ยิ่งการค้นหาว่าใครบ้างที่อยู่ในรายชื่อคอนแทกต์บนอีเมล์ที่ใช้ใน Facebook อยู่เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก่อนที่จะรับคนเหล่านั้นให้เป็นเพื่อนบน Facebook ก็อย่าลืมพิจารณาให้รอบคอบด้วย

อ้างอิง ; กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว :การใช้เฟซบุ๊คอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment